Thai  Thai

บางแสน

โรงแรมใกล้เคียง

ตลาดเก่าอ่างศิลา 133 ปี

ตลาดเก่าอ่างศิลา 133 ปี
ตลาดเก่าอ่างศิลา 133 ปี

ตลาดเก่าอ่างศิลา 133 ปี ได้แบ่งออกเป็น 4 โซน ประกอบด้วย 
โซนที่ 1      เข้าวัดอ่างศิลา ชมความมหัศจรรย์วัด 2 โบสถ์ วัดเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 309 ปี ชมแหล่งประวัติศาสตร์ศิลปกรรมท้องถิ่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ใช้เทคนิคการตัดเส้นที่ดีและสวนที่สุดในประเทศไทย มณฑปและรอยพระพุทธบาท เจดีย์เก่าสมัยอยุธยาตอนปลาย นมัสการหลวงพ่อหิน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวอ่างศิลา วิหารท่านเจ้าคุณพระ วิสุทธิสมาจาร
  
โซนที่ 2     บริเวณพระตำหนักมหาราช ท่านจะได้ชมพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติฯ นิทรรศการภาพเก่าเล่าขาน  ชมตลาดเก่าอ่างศิลา 133 ปี ศาลเจ้าปุนเฒ่ากง และศาลเจ้าปุนเฒ่าม่า เลือกซื้อสินค้าพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์แปรรูป อาหารสำเร็จรูป อาหารและขนมไทย อาหารทะเลสด  
                      
โซนที่ 3     ชมตลาดเก่าอ่างศิลา 133 ปี ศาลเจ้าปุนเฒ่ากง และศาลเจ้าปุนเฒ่าม่า เลือกซื้อสินค้าพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์แปรรูป อาหารสำเร็จรูป อาหารและขนมไทย อาหารทะเลสด  
 
โซนที่ 4    ชมศูนย์การเรียนรู้ทางธรรมชาติ ชมวังค้างคาว ฟาร์มหอยบนสะพานที่ทอดยาวไปในทะเลกว่า 10 กิโลเมตร 

 

อ่างศิลาในปัจจุบัน คนพื้นที่ดั้งเดิมเรียกกันว่า อ่างหิน  สมัยรัชกาลที่ 3 ชาวตะวันตกและคนบางกอก มาพักตากอากาศกันมาก ชื่ออ่างหินก็เริ่มเปลี่ยนแปลงให้ดูเป็นสากลมากขึ้น โดยมีหลักฐานบันทึกถึงชื่อ  อ่างศิลา ดังนี้ 


เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรี ได้ประทับแรมที่อ่างศิลา โดยมีลายพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2419 พรรณนา อ่างศิลา  ตอนหนึ่งว่า  เรียกชื่อว่าอ่างศิลานั้น เพราะมีแผ่นดินสูงเป็นลูกเนิน มีศิลาก้อนใหญ่ๆ เป็นศิลาดาด และเป็นสระยาวรี อยู่ 2 แห่งๆหนึ่งลึก 7 ศอก กว้าง 7 ศอก ยาว 10 วา แห่งหนึ่งลึก 6 ศอก กว้าง 1 วา 2 ศอก ยาว 7 วา เป็นที่ขังน้ำฝน น้ำฝนไม่รั่วซึมไปได้  ท่านเจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบตี เห็นว่าเป็นประโยชน์กับคนทั้งปวงจึงให้หลวงฤทธิ์ศักดิ์ชลเขตร ปลัดเมืองชลบุรี เป็นนายงานก่อเสริมปากบ่อกั้นน้ำ มิให้น้ำที่โสโครกกลับลงไปในบ่อได้ ราษฎร ชาวบ้านและชาวเรือไปมาได้อาศัยใช้น้ำฝนในอ่างศิลานั้น บางปีถ้าฝนตกมาก ถ้าใช้น้ำแต่ลำพังชาวบ้านก็ได้ใช้น้ำทั้งสองแห่งและบ่ออื่นๆ บ้างพอตลอดปีไปได้ บางปีฝนน้อย ราษฎรได้อาศัยใช้แต่เพียง 5 เดือน 6 เดือน ก็พอหมดน้ำในอ่างศิลา แต่น้ำในบ่อแห่งอื่นๆ ที่ราษฎรขุดขังน้ำฝนไว้ใช้นั้น มีอยู่หลายแห่งหลายตำบล ถึงน้ำในอ่างศิลา สองตำบลนี้แห้งไปหมดแล้วราษฎรก็ใช้น้ำบ่อแห่ง อื่นๆ ได้จึงได้เรียกว่า  บ้านอ่างศิลา  มาจนถึงทุกวันนี้

 

Thai
© 2024 สงวนลิขสิทธิ์โดย บริษัทไทยทัวร์อินโฟ จำกัด โทร 02-1641001-2 email sales@choowap.com